ปรัชญา/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ปณิธาน

ปรัชญาประจำมหาวิทยาลัย

แหล่งความรู้ตลอดชีวิต 
Source of Knowledge for a Lifetime

ยาวชีวํ ภูมิปญฺญา ฐานํ


ปณิธาน

มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดมุ่งเน้นการกระจายโอกาสทางการศึกษาเสริมสร้างความเข้มแข็งและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่น ตามศาสตร์พระราชาด้วยนวัตกรรม เน้นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม


วิสัยทัศน์

เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อพัฒนาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรม

นิยามวิสัยทัศน์

สถาบันอุดมศึกษาแห่งการสรรค์สร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น หมายถึง มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดจะเป็นสถาบันอุดมศึกษาของชุมชน เป็นแหล่งองค์ความรู้ให้บริการวิชาการแก่สังคมรวมทั้งทานุบารุงศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น

นวัตกรรม หมายถึง แนวคิดใหม่ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ที่ต่อยอดและใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วประกอบด้วยนวัตกรรม 4 ด้าน (4 Ps Innovation) คือ

  1. นวัตกรรมด้านกระบวนทัศน์ (Paradigm Innovation)
  2. นวัตกรรมสถานะ (Position Innovation)
  3. นวัตกรรมกระบวนการ ( Process Innovation)
  4. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)

เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัย สู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ขับเคลื่อนนวัตกรรมสารสนเทศเพื่อการบริหารและการศึกษา จัดทาแผนวิชาการในการพัฒนาท้องถิ่น อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม คุณภาพบัณฑิต คุณภาพอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนเป็นที่ยอมรับ หลักสูตรและนวัตกรรมการเรีย นการสอนได้มาตรฐาน


เป้าประสงค์หลัก (Primary Goal)

  1. กลุ่มเป้าหมายในชุมชนและท้องถิ่น ได้รับการยกระดับเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นและเขตเมืองด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมด้วยการวิจัย
  2. เป็นฐานเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals ; SDGs) และพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียว (UI Green Metric World University)

ตัวชี้วัด เป้าประสงค์หลัก

  1. กลุ่มเป้าหมายในชุมชนและท้องถิ่น ได้รับการยกระดับเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมใน
    ท้องถิ่นและเขตเมืองด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมด้วยการวิจัยเป็นฐาน
  2. เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อ การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals ; SDGs) และเข้าสู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียว (UI Green Metric World University)
  3. เกิดนวัตกรรมการใช้ประโยชน์จากพืช/สัตว์และวัฒนธรรม เพื่อเ ศรษฐกิจ จานวน 1 รายการ
  4. การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดย มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย (University of Indonesia ; UI) ได้รับการจัดอันดับ 1 ใน 20 ของระดับประเทศ

อัตลักษณ์บัณฑิต
รอบรู้ กล้าคิด จิต อาสา

นิยามอัตลักษณ์บัณฑิต
รอบรู้ : มีความรู้ในศาสตร์วิชาชีพ และการดารงชีวิต มีทักษะ ทั้ง ทักษะวิชาชีพ (Hard Skills) และทักษะเชิงสมรรถนะ (Soft Skills)
กล้าคิด : มีความเป็นวิศวกรสังคม สามารถ คิดวิเคราะห์เป็นระบบมีเหตุและผล มีการคิดเชิงนวัตกรรม มี
ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการสื่อสาร และแสดงออกอย่างเหมาะสม มีภาวะผู้นา สามารถลงพื้นที่ในชุมชนเพื่อสร้างความเชื่อมโยงต่อชุมชน และมีจิตสานึกในการมีส่วนร่ว มต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของท้องถิ่น
จิตอาสา : มีจิตแห่งการให้ความดีงามทั้งปวงแก่เพ ื่อนมนุษย์โดยเต็มใจสมัครใจ พร้อมเสียสละ มีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยการพัฒนาท้องถิ่น สังคม และสภาพแวดล้อม

ตัวชี้วัดอัตลักษณ์บัณฑิต
รอบรู้ : ความรู้ในศาสตร์ว ิชาชีพของบัณฑิตและทักษะวิชาชีพ (Hard Skills) และทักษะเชิงสมรรถนะ (Soft Skills) ของบัณฑิต
กล้าคิด : ทักษะวิศวสังคมของบัณฑิต ประกอบด้วย
1. ทักษะการคิดวิเคราะห์ เชิงเหตุ-ผล เห็นปัญหาเป็นสิ่งท้าทาย (นักคิด)
2. ทักษะในการสื่อส ารองค์ความรู้เพื่อการแก้ปัญหา (นักสื่อ สาร)
3. ทักษะในการทางานร่วม กับผู้อื่น ระดมสรรพกาลังทรัพย ากรเพื่อการแก้ปัญหา (นักประสานงาน)
4. ทักษะการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคม (นักส ร้างนวัตกรรม)
จิตอาสา : การมีส่วนร่วมของบัณฑิต ในการอาสา เสียสละเวลา แรงกาย แรงใจ และสติปัญญา ในการทางาน
ที่เป็นสาธารณประโยชน์ โดยไม่หว ังผลตอบแทนกิจกรรมพัฒนาท้องถิ่นและสภาพแวดล้อม

เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความโดดเด่นในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สภาพแวดล้อม นวัตกรรม และพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

ค่านิยมองค์กร “RERU”
R : Responsibility มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
E : Experience ประสบการณ์ที่ดีจะนาไปสู่ความสาเร็จ ทาให้เกิด ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
R : Respect อ่อนน้อมถ่อมตน เคารพนับถือผู้มีพระคุณและมีคว ามภักดีต่อองค์กร
U : Unity มีความรัก ความสามัคคีและผูกพันกับสถาบัน


พันธกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

1. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ มีคุณธรรม และจริยธรรม จิตอาสา อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสำนึกในความเป็นไทยและมีความรักและผูกพันท้องถิ่น ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงจะต้องให้มีจำนวนและคุณภาพสอดคล้องกับแผนการผลิตบัณฑิตของประเทศ

2. ใช้การวิจัยเป็นฐานในการแสวงหาความจริงเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการบนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาสากลเน้นสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ

3. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่น เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่าทางวัฒนธรรมของชาติ

4. บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและนักการเมืองท้องถิ่นให้มีจิตสำนึก ประชาธิปไตย คุณธรรม จริยธรรมและความสามารถในการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

5. พัฒนาศักยภาพของมหาวิทยาลัยให้สามารถเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถแข่งขันได้ในกลุ่มประชาคมอาเซียนและสากลตลอดจนสร้างเครือข่ายและประสานความร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างมหาวิทยาลัยชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรอื่นทั้งในและต่างประเทศเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

6. น้อมนำส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการทำงานและการดำเนินชีวิต

7. เสริมสร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพครู ผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง

8. ศึกษาและแสวงหาแนวทางพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เหมาะกับการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของปวงชน รวมทั้งการแสวงหาแนวทางในการบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน